4ประเภทของเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอก

                วันนี้เราจะมาเล่าเรื่อง  4 ประเภทของเสาเข็มเจาะเเละเสาเข็มตอก  โดยทั่วๆไปนั้น เสาเข็ม จะแบ่งแยกประเภทตามวิธีการทำงาน ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เสาเข็มเจาะ และ เสาเข็มตอก แต่ในปัจจุบัน ยังมีเสาเข็มชนิดพิเศษอีกหลากหลายประเภท เช่นเสาเข็มไมโครไพล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์แบบเปียก เสาเข็มไมโครไพล์แบบเหล็ก เป็นต้น ซึ่งเสาเข็มพิเศษเหล่านี้ก็แบ่งตามวิธีการทำงานเหมือนกัน ก็คือ เสาเข็มไมโครไพล์แบบเจาะ และ เสาเข็มไมโครไพล์แบบตอก เหมือนกัน เพียงแต่วันนี้เราขอยังไม่พูดถึงเพราะเกร็งว่าจะสับสน  ดังนั้นจึงขอไว้โอกาสต่อไปจะมาเล่าให้ฟัง

วันนี้เราจึงกลับมาเจาะลึกถึง  เสาเข็มเจาะ และ เสาเข็มตอก กันต่อนะครับ

1. เสาเข็มตอกโดยทั่วไป จะมีหน้าตาต่าง ๆ กันไป ตามแบบที่หล่อขึ้น เช่น เสาเข็มสี่เหลี่ยม เสาเข็มตัวไอ เสาเข็มกลม ซึ่งเสาเข็มเหล่านี้จะมีขนาดแตกต่างกันไป ตามการใช้งานและหน้าตัด เช่น ไอ 18 ไอ 24 สี่เหลี่ยม35 สปัน 20 ซึ่งหน่วยส่วนใหญ่จะเป็น ซม.เสาเข็มประเภทนี้จะเป็นเสาเข็มที่ทำงานได้ง่ายที่สุด ทำงานเร็วที่สุด มีราคาถูกที่สุด และมีแรงสั่นสะเทือนมากที่สุดด้วย ดังนั้นควรพิจารณาปัจจัยต่างๆประกอบด้วย

 

2. เสาเข็มสปันกลม เป็นเสาเข็มที่สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มตอกแบบแรกข้างต้น เพราะกรรมวิธีในการทำนั้น ละเอียกกว่าและใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่า รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิตก็จะมากตามไปด้วย โดยวิธีการผลิตคือ จะใส่คอนกรีตและเหล็กเข้าไปในแบบทรงกระบอก แล้วปั่นหมุนคอนกรีตด้วยความเร็วสูง ทำให้คอนกรีตเกิดแรงเหวี่ยงในแบบทรงกระบอก ทำให้เกิดการควบแน่น
ในแบบนั้น เมือ่ปั่นถึงเวลาที่กำหนด ก็จะถอดแบบออกมาใช้งาน และเสาเข็มพวกนี้จะมีความหนาแน่นมาก แข็งแรงมากกว่า จึงเป็นที่นิยมในการสร้างอาคารสูงไม่มากนักจนถึงอาคารสูงปลานกลาง เวลาติดตั้งเสาเข็มสปันนั้น ส่วนใหญ่ จะเจาะด้วยสว่านก่อน อน แล้วกดเสาเข็มลงไป อาจจะใช้ตุ้มไฮโดรลิค หรือลูกตุ้มปั้นจั่น หรือแม้นกระทั้ง ใช้ไฮโดรลิคกดเลยก็ได้ ด้วยวิธีนี้ จะทำให้ ส่วนของเนื้อเสาเข็มที่ตอกลงไปนั้น เข้าไปแทนที่ในเนื้อดินน้อยลง (เพราะเนื้อดินจะถูกขุดออกมาบางส่วนแล้วแต่ยังคงมีเนื้อดินอยู่จำนวนหนึ่ง ) ส่งผลให้แรงเคลื่อนตัวของดิน ถูกถ่ายไป อาคารข้างเคียงได้น้อยลง แต่ยังคงมีอยู่ รวมถึงปัญหามลภาวะเรื่องเสียง เรื่องฝุ่นละออง เรื่องแรงสั่นสะเทือน ก็ยังคงอยู่เช่นกัน เพียงแต่ราคาจะถูกกว่าเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ จึงยังมีช่องว่างทางการตลาดที่ทำให้เลือกใช้ได้

 

3. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นเสาเข็มหล่อในที่ ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 25 เมตรในกทม และไม่เกิน 20 เมตร ใน ตจว (ทั้งนี้ต้องพิจารณาตามผลเจาะสำรวจชั้นดินประกอบด้วย เพราะดินแต่ละพื้นที่แตกต่างไปตามธรรมชาติ ) ส่วนเรื่องการรับน้ำหนักต่อต้นนั้น เสาเข็มเจาะประเภทนี้จะพิจารณาจากแรงฟืดและ แรงต้านที่ปลายเสาเข็มเป็นหลัก ซึ่งค่าที่ได้มาจากการคำนวณพื้นที่หน้าตัด พื้นที่รอบวง และค่าความฝืดหรือความแข็งที่ได้มากจากชั้นดินในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ใน กทม จะรับหโหลดได้ ไม่เกิน 120 ตัน(หารค่าปลอดภัย 2.5เท่าแล้ว)  วิธีการทำงานของเสาเข็มประเภทนี้ก็คือ การตอกปลอกเหล็กชั่วคราวลงไปจนถึงชั้นดินแข็ง เพื่อป้องกันตอนเจาะไม่ให้ดินพังลงมาในหลุมเจาะได้ และค่อยๆ ใช้ตัวตักดิน ตักดินขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงระดับที่ต้องการ โดยทั่วไปในกทมจะอยู่ที่ 21 เมตร หลังจากนั้นจะใส่เหล็กข้ออ้อยที่ผูกเตรียมไว้หย่อนลงไปในหลุมเจาะ แล้วเทคอนกรีตลงไปในหลุมเจาะ จนเต็มแล้วค่อยถอนปลอกเหล็กจนหมด เป็นอันเสร็จสิ้นกรรมวิธี เสาเข็มเจาะแบบแห้งนี้จะมีขั้นตอนการทำงานที่ละเอียดกว่าเสาเข็มตอก จึงทำให้ มีราคาสูงกว่าระบบเข็มตอก แต่จะมีมลภาวะน้อยกว่ามาก ไม่ว่าจะเรื่องเสียง การเคลื่อนตัวของชั้นดิน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ ในที่พื้นที่ ที่มีอาคารอยู่มาก

4. เสาเข็มเจาะแบบเปียก มีกรรมวิธีทำเหมือนการทำเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาการเจาะดินจนถึงชั้นทรายหรือชั้นดินที่เริ่มมีน้ำไหลเข้าหลุมเจาะเราจะต้องผสมสารละลายเบโทไนต์ ใส่ลงไปในหลุมเจาะ เพื่อป้องกันและเคลือบผิวดิน ในหลุมเจาะ ทำหน้าที่เป็นตัวยึดและประสานเนื้อดิน ตลอดจน ดันผนังดินไม่ให้พังทลายลงในหลุมเจาะ ซึ่งเสาเข็มประเภทนี้ จะสามารถเจาะได้ลึกที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด ในเสาเข็มทุกประเภทที่มีอยู่ เช่นเสาเข็มเจาะขนาด 300 เซนติเมตร และเจาะลึกได้ถึง 100+เมตร และเสาเข็มเจาะแบบเปียก นั้นจะสามารถรับน้ำหนักได้มากที่สุด และเกิดมลภาวะน้อยสุด และราคาสูง

 

ส่วนการเลือกว่าจะใช้เสาเข็มประเภทไหนอย่างไรถึงเหมาะสม เรามีข้อควรพิจารณาปัจจัยต่างๆในการประกอบการตัดสินใจดังต่อไปนี้

4.1 เราควรพิจารณาชั้นดินก่อนเป็นอันดับแรก โดยควรทำการเจาะสำรวจชั้นดินก่อนการออกแบบ และรอผลเจาะสำรวจชั้นดินมาพิจารณาเป็นข้อแรก ว่าเราควรใช้เสาเข็มประเภทไหน และ รับน้ำหนักได้เท่าไร เหมาะสมกับอาคารที่จะก่อสร้างหรือไม่
4.2 พิจารณาถึง อาคารข้างเคียง ทางเข้าออก ว่ามีอาคารข้างเคียง ในรัศมี 30 เมตรจากพื้นที่ก่อสร้างหรือไม่ ถ้ามีอาคารอยู่ จะอยู่ภายในพรบ.(ในกทม.) ที่ต้องใช้เสาเข็มที่ต้องเจาะดินออก
4.3 ค่าใช้จ่าย คงมีคำถามถามว่าทำไมถึงไม่พิจารณาเรื่องราคาค่าใช้จ่ายในข้อแรก แน่นอนว่าทุกท่านอยากประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง นั่นหมายความว่า ต้องใช้เสาเข็มตอกเท่านั้น เพราะมีราคาถูกที่สุด แต่ถ้าท่านเลือกใช้เสาเข็มตอกก่อน ท่านต้องวางมัดจำในการหล่อเสาเข็ม จนกระทั่ง ค่าขนส่งที่นำเสาเข็มตอกเอามาส่ง พอมาส่งแล้ว ถ้าทางเข้าออก มีปัญหา ไม่สามารถขนเสาเข็มเข้ามาได้ หรือพอเสาเข็มเข้ามาได้แต่ ข้างบ้านไม่ยอมให้ตอก หรือ ตอกได้แต่อาคารข้างเคียงแตกร้าว ปัญหาเหล่านี้จะตามมาทันที ต้องฟ้องร้องเสียเวลาเสียเงินทองในการแก้ไขปัญหา
4.4 ระยะเวลาในการทำงาน แน่นอนว่าเสาเข็มตอกจะใช้เวลาน้อยที่สุด แต่ถ้าตอกแล้วโดนสั่งระงับการก่อสร้าง เพราะผิด พรบ จะคุ้มกันไหม ดังนั้น ถ้าพิจารณา 3 ข้อข้างต้นแล้ว จึงต้องเข้าใจว่า เสาเข็มเจาะจะใช้เวลามากกว่าเพราะขั้นตอนการทำงานนั้นจะยุ่งยากกว่า ละเอียดกว่า จึงทำให้ต้องเผื่อเวลาในการทำงานเสาเข็มเจาะให้มากกว่าเสาเข็มตอก

 

                      ทางผู้เขียนคาดหวังว่าบทความ 4ประเภทของ เสาเข็มเเจาะและเสาเข็มตอก นี้คงเป็นประโยชน์ในการพิจารณาตัดสินใจของท่านไม่มากก็น้อย เพราะเป็นขั้นตอนการทำงานคร่าวๆโดยทั่วไป แต่ไม่ใช่ข้อสรุป100% เพราะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆควบคู่กันไปด้วย หรือตามที่วิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด

 

เสาเข็มเจาะ

รับเหมาเสาเข็มเจาะระบบเปียก/แห้งราคาประหยัด
ใช้รถเจาะสว่านล้อแทรก หรือ หกล้อ และ ระบบ 3ขา
ที ยู อัมรินทร์ บริษัท จำกัด
ติดต่อ : 02-416-8153 02-416-8154 แฟ็กส์ : 02-416-8155
มือถือ : 08 4642 4635

 

 

 

 

ติดตามต่อได้ที่ tua635.com


Leave a Reply