เสาเช็มเจาะแห้ง และ เสาเข็มเจาะเปียก 35-40-50-60-80-100 ซม ระบบสามขา รถล้อยาง รถล้อแทรก ราคาถูก คุณภาพมาตรฐาน บริการทุกระดับแบบญาติสนิทมิตรสหาย ยินดีแนะนำทุกปัญหาการใช้งาน โดยวิศวกรและทีมงานประสบการณ์กว่า 30 ปี โปรดติดต่อ 084-642-4635 ....... 093-789-2626

อ่านผลเจาะสำรวจก่อนทำ เสาเข็มเจาะ

มาทำความเข้าใจ Boring Log ด้วยรูปหนึ่งรูปกันครับ

ผลการเจาะสำรวจ หรือ Boring Log เป็นการบรรยายกระบวนการสำรวจ และสภาพใต้ผิวดินที่เจอในระหว่างการเจาะดิน การเก็บตัวอย่าง และการเจาะหิน

ผลการเจาะสำรวจที่ดีควรประกอบด้วยข้อมูล ได้แก่ พิกัดหลุมเจาะและระดับปากหลุม วิธีการเจาะและของเหลวที่ใช้รักษาเสถียรภาพของหลุม การระบุชั้นดินและชั้นหินรวมถึงความหนาแน่น ความหลวม-แน่น ความอ่อน-แข็ง สี ปริมาณความชื้น โครงสร้าง แหล่งที่มาทางธรณีวิทยา ความหนาของแต่ละชั้น ผลทดสอบ SPT และ/หรือ CPT ผลทดสอบอื่น ๆ เช่น VST PMT ช่วงความลึกในการเก็บตัวอย่าง ชนิดกระบอกเก็บตัวอย่าง ความยาวของตัวอย่างที่เก็บได้ หมายเลขการเจาะเก็บแท่งตัวอย่างหิน ค่า Core Recovery ค่า RQD การสูญเสียของเหลวที่ใช้รักษาเสถียรภาพของหลุม ระดับน้ำใต้ดิน วันและเวลาที่เริ่มทำการเจาะสำรวจจนแล้วเสร็จ


แน่นอนว่ามาตรฐานและรูปแบบของแต่ละบริษัทรับเหมาเจาะสำรวจไม่เหมือนกันครับ

**ขอขอบคุณข้อมูลจากเฟสบุคเพจ    คู่มือวิศวกรรมฐานราก
www.facebook.com/FoundationEngineeringHandbook/photos/a.513856645628777.1073741828.513643562316752/524336237914151/?type=3&theater
                   จากบทความข้างต้นนี้ คงทำให้หลายท่านคงจะพอเข้าใจผลการเจาะสำรวจชั้นดินขึ้นบ้าง   หรือพอที่จะอ่านผลเจาะสำรวจชั้นดินได้เข้าใจไม่มากก็น้อยนะครับ  ที่นี้เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า  ทำไมเจ้าของบ้านหรือเจ้าของอาคารนั้นควรจะต้องเจาะสำรวจชั้นดินก่อนการทำเสาเข็มเจาะ  แน่นอนครับว่า ในเมื่อตัวเสาเข็มเจาะนั้นถึงแม้นจะมีข้อดีหลายอย่างหลายข้อก็ตาม แต่ในความเป็นจริงนั้น เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ  เราจะมาว่ากันในเรื่องของ  ข้อเสียของเสาเข็มเจาะ กันบ้าง ในส่วนนี้นั้นไม่ค่อยมีพ่อค้า บริษัท รับทำเสาเข็มเจาะที่ไหนพูดถึงกัน  แต่เราพร้อมจะนำเสนอให้ท่านได้พิจารณาในทุกแง่มุม ในด้านดีและเสียเพื่อในท่านได้รวบรวมข้อมูลทุกด้านแล้วพิจารณาประกอบการตัดสินใจอีกครั้ง  ข้อเสียที่ว่านั้นก็คือ เวลาเจาะเสาเข็มได้ระดับความลึกตามต้องการแล้ว เราไม่สามารถรู้ได้ว่า เสาเข็มเจาะต้นนั้น รับน้ำหนักได้เท่าไร  ต้องอาศัยการทดสอบการรับน้ำหนัก หรือใช้ผลเจาะสำรวจชั้นดินมาประกอบการพิจารณาคำนวณเอาเท่านั้น  ซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มปั่นจั่นที่สามารถ ทราบได้ว่า เสาเข็มแต่ละต้นนั้น รับน้ำหนักได้เท่าไร  โดยจุดนี้เองจึงจำเป็นที่ต้องรู้ว่า ชั้นดิน ในพื้นที่ก่อสร้างนั้น สามารถทำเสาเข็มเจาะแล้วรับน้ำหนักได้เท่าไร  หลายท่านคงมีคำถามในใจว่า เราเอาผลเจาะสำรวจชั้นดิน โครงการใกล้ๆๆกันมาพิจารณาได้ไหม  คำตอบคือได้ แต่ไม่ชัวร์ 100%   อันนี้แล้วแต่ความเสี่ยงของวิศวกรในการเซ็นควบคุมงานหรือเซ็นรับรองกันเอง  ขนาดอาชีพเสาเข็มเจาะเอง ที่มีประสบการณ์ทำงานมามากมาย ก็ยังไม่กล้ายืนยันว่า ชั้นดินที่ทำงานนั้น มีลักษณะเหมือนกันหมดทุกต้น  บางครั้ง ห่างกันแค่ 1 เมตร ชั้นดินเปลี่ยนแปลงไปมากมายเลยก็มี  เช่นเสาเข็มเจาะได้ 21 เมตรที่ต้นแรก  พอเจาะต้นต่อไป เจาะชั้นทราย และมีน้ำไหลเข้าหลุมเจาะที่ 18 เมตร จึงต้องหยุดที่ 18 เมตร  แบบนี้เป็นต้น  ของมันอยู่ใต้ดิน ไม่มีใครมองเห็นหรอกครับ  ใครจะกล้ายืนยันได้ 100% บ้าง ได้แต่บอกว่า ตรงนั้นตรงนี้ เคยเจาะแล้ว ได้ 22 เมตรบ้าง  25 เมตรบ้าง เพื่อเอาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเฉยๆ   ถ้าปัจจุบันมีคนรับรองได้จริง บริษัทเจาะสำรวจชั้นดิน คงต้องปิดบริษัทเป็นแถวๆ เพราะไม่มีใครจ้างเจาะสำรวจเพราะดินเหมือนกันหมด จริงหรือไม่ครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
ตามอ่านบทความดีๆได้ที่tua635.com

Leave a Reply

เสาเช็มเจาะแห้ง และ เสาเข็มเจาะเปียก 35-40-50-60-80-100 ซม ระบบสามขา รถล้อยาง รถล้อแทรก ราคาถูก คุณภาพมาตรฐาน บริการทุกระดับแบบญาติสนิทมิตรสหาย ยินดีแนะนำทุกปัญหาการใช้งาน โดยวิศวกรและทีมงานประสบการณ์กว่า 30 ปี โปรดติดต่อ 084-642-4635 ....... 093-789-2626