เสาเข็มเจาะแบบเปียก (Wet process Bored Pile) คือ เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ หรือ ที่เราเรียก เสาเข็มเจาะระบบเปียก (Wet process Bored Pile) จะใช้เครื่องจักรใหญ่ในการทำงาน มีขนาด 40-50-60-80-100 cm
และขนาดใหญ่กว่าที่กล่าวมาขึ้นไปอีก และความลึกสามารถเจาะได้จนถึง 60 เมตร ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรที่นำเข้ามา ส่วนขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะแบบเปียกนั้นจะสามารถ กด (casing)ยาวได้เลยในครั้งเดียว เพื่อป้องกันการพังทะลายของชั้นดินอ่อน (Soft clay) และทำการขุดเจาะดินออกผ่านชั้นดินเหนียวอ่อนโดยใช้หัวเจาะแบบสว่าน (Auger) เมื่อเจาะผ่านระดับดินเหนียวแข็ง (Stiff Clay)ไปแล้ว จะเติมสารสารละลายเบนโทไนท์ หรือโพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนด เพื่อลงไปในหลุมเจาะให้สูงถึงระดับ 2.00 m. จากปากหลุม สารละลายนี้จะซึมผ่านเข้าไปในผนังดิน และเคลือบผนังหลุมเจาะ ช่วยสร้างแรงดันภายในหลุมเจาะและปรับเสถียรภาพพนังดินให้ทรงตัวไม่พังง่าย จึงใส่สารเคมี ที่มีความสามารถพยุงตัว (ควรมีการทดสอบน้ำยาก่อนที่จะปล่อยลงในหลุมเจาะ) จึงเปลี่ยนหัวเจาะเป็นแบบถังเจาะเก็บดิน (Bucket)แล้วทำการเจาะลงไปจนถึงระดับที่ต้องการโดยต้องรักษาระดับของสารละลายพยุงหลุมเจาะให้ไม่ต่ำกว่าระดับดินเดิมเกิน 3.00 m. สำหรับสารละลายโพลีเมอร์ หลังจากเจาะจนถึงระดับที่ต้องการแล้วรอให้ทรายตกตะกอนประมาณ 1ชั่วโมง หากพบว่ามีตะกอนต้องใช้ถังเจาะแบบ (Bucket Clening) ทำความสะอาดก้นหลุมและทำการวัดความลึกโดยใช้เชือกกำกับระยะถ่วงด้วยลูกตุ้ม นำเหล็กเสริมที่ขึ้นรูปพร้อมแล้วมาติดตั้งลงไปในหลุมเจาะ
โดยที่รอยต่อทาบระหว่างเหล็กเสริมแต่ละท่อนต้องมีระยะทาบอย่างเพียงพอ ผูกให้แน่นหนาหรือใช้ขอยึด (Clamp) เพื่อป้องกันการโก่งงอเมื่อคอนกรีตยุบตัว ติดตั้งท่อเทคอนกรีต (Tremie Pipe) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างคอนกรีตกับสารละลาย โดยรักษาระดับปลายท่อให้อยู่เหนือก้นหลุมประมาณ 50 cm.
การเทคอนกรีตลงในหลุมเจาะเมื่อเทได้ในระดับหนึ่งท่อทริมมี่จะค่อยๆถูกตัดออกทีละท่อน และจะต้องรักษาระดับปลายท่อทริมมี่ให้จมอยู่ในเนื้อคอนกรีตอย่างน้อย 2 m.ตลอดเวลา ขณะเทคอนกรีตสารละลายเบนโทไนท์จะถูกดันให้ลอยขึ้นมาและตลอดเวลาจะต้องสูบสารละลายเบนโทไนท์ที่ล้นออกมาจากหลุมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อเทคอนกรีตจนได้ระดับที่ต้องการแล้วจึงถอนปลอกเหล็กโดยใช้ไวโบรแฮมเมอร์ (เนื้อคอนกรีตจะต้องสูงกว่าระดับตัดหัวเข็ม 1-4 m. เพื่อรับประกันว่าจะไม่มีคอนกรีตที่ปนเปื้อนสารละลายหรือตะกอนหลงเหลืออยู่)
เสาเข็มเจาะระบบเปียกเป็นงานฐานรากส่วนสำคัญในการก่อสร้างอาคารสูงและโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการรับน้ำหนักมาก เสาเข็มเจาะระบบเปียกเหมาะสำหรับการเจาะอาศัยความลึกเจาะผ่านบริเวณที่มีชั้นดินอ่อน
และเจาะทะรุชั้นทรายและชั้นน้ำเสาเข็มจำพวกนี้จำเป็นต้องใช้เสาเข็มเพื่อรองรับน้ำหนักของโครงสร้างเพื่อความมั่นคงแข็งแรงและรับน้ำหนักมากๆ นอกจากนี้เสาเข็มเจาะสามารถทำให้มีขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำหนักอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีระดับความสูงมากๆ โดยไม่ก่อให้ดินเกิดการเคลื่อนตัวไปดันสิ่งก่อสร้างข้างเคียงให้เกิดความเสียหายเหมือนกรณีใช้เสาเข็มตอกการใช้เสาเข็มเจาะยังสามารถลดขนาดของฐานรากให้เล็กกว่ากรณีใช้เสาเข็มตอก และสามารถลดมลภาวะเรื่องเสียง แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับกรณีที่ใช้เสาเข็มตอก รูปแบบเสาเข็มเจาะที่ใช้จะขึ้นอยู่กับสภาพใต้ดิน ดังนั้นจะต้องมีการสำรวจสภาพใต้ดินก่อน จึงจะสามารถออกแบบเสาเข็มเจาะให้เหมาะกับสภาพใต้ดินขณะเดียวกันก็สามารถรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างได้ตามที่กำหนด
เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเสาเข็มเจาะระบบเปียก คือเสาเข็มที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 ซม. ปัจจุบันหลายบริษัทสามารถเจาะได้ถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300 ซม. ในส่วนของความลึกนั้นสามารถเจาะให้มีความยาวได้มากกว่า 60 เมตร และรับน้ำหนักได้เกิน 1,500 ตันต่อต้น เหมาะกับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ทุกระดับความสูง การที่เสาเข็มมีความยาวมาก จะทำให้แรงเสียดทานรอบเสาเข็มช่วยรับน้ำหนักได้ส่วนหนึ่ง นอกจากแรงแบกทานรองรับที่ใต้ปลายเสาเข็มซึ่งรับน้ำหนักส่วนใหญ่เอาไว้ ขนาดของเสาเข็มจะขึ้นอยู่กับแรงรับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการออกแบบไว้ ในกรณีงานโครงสร้างที่ต้องรองรับน้ำหนักมาก เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่จะได้เปรียบเสาเข็มเจาะขนาดเล็กและเสาเข็มตอก เนื่องจากเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่จะใช้พื้นที่ฐานรากน้อยกว่าเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก และเสาเข็มตอกเพราะการที่เสาเข็มเจาะขนาดเล็กจะทำให้สามารถรับน้ำหนักต่อต้นได้เท่าเสาเข็มเจาะแบบเปียกอาจจะต้องใช้เข็มกลุ่มคือการใช้เสาเข็มเจาะขนาดเล็กมากกว่า2-3ต้นนั้นเอง
การเจาะเสาเข็มเจาะเปียกเป็นการเจาะเทคอนกรีตใต้น้ำผ่านโดยการใช้ท่อเท (Tremie Concreting) ที่ไม่สามารถใช้เครื่องจี้ไล่ฟองอากาศในคอนกรีตออกเพื่อให้คอนกรีตอัดตัวแน่นได้ จึงต้องออกแบบเครื่องจักรและขั้นตอนการเจาะเพื่อให้ตอบสนองความลึกและขนาดการรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละต้นที่มีจำนวนการรับน้ำหนักมากกว่า90ตันต่อต้น ไม่ใช่แค่ขั้นตอนการเจาะแต่ยังรวมถึงวัสดุที่ใช้ในการเจาะเป็นสิ่งสำคัญร่วมด้วยนั้นหมายถึง
สารละลายที่ต้องนำมาใช้ในขั้นตอนการเจาะเสาเข็มและคอนกรีตที่ใช้ต้องเป็นคอนกรีตจำเพราะในการเจาเสาเข็มระบบเปียกอีกด้วย การผสมคอนกรีตที่นำมาใช้ในงานเสาเข็มเจาะชนิดนี้ให้มีคุณลักษณะพิเศษหลากหลายกว่าคอนกรีตที่ใช้เจาะตามโครงการบนดินทั่วไปอย่างมาก เพราะหากนำเอาคอนกรีตที่มีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ไม่เหมาะกับงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะเปียกที่มีธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมในการก่อสร้างที่แตกต่างจากงานหล่อคอนกรีตโครงสร้างประเภทอื่นๆ เป็นอันมากมาใช้แล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ทั้งในขณะที่คอนกรีตยังเหลวอยู่หรือเมื่อแข็งตัวแล้ว
จนเป็นผลให้ความสมบูรณ์และความคงทนของเสาเข็มในระยะยาวลดลงได้ ดังนั้นคอนกรีตที่นำมาใช้ในงานเสาเข็มเจาะเปียกจึงต้องมีคุณลักษณะที่สามารถเคลื่อนไหลได้ดี , สามารถอัดตัวแน่นได้ด้วยน้ำหนักตัวเอง ,
ทนทานต่อการแยกตัวและการเยิ้ม , มีระยะเวลาการเริ่มก่อตัวนานกว่าปกติ , ทนทานต่อสภาวะผิดปกติในชั้นดิน ,ทนทานต่อการน้ำใต้ดินชะล้างและข้อสุดท้ายต้องมีกำลังอัดและความแข็งแรงตามที่ออกแบบไว้
การเจาะเสาเข็มเจาะระบบเปียก นอกจากการควบคุมการก่อสร้างตามขั้นตอนที่ถูกต้องแล้ว ส่วนผสมและ คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้หล่อเสาเข็มยังเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อความสมบูรณ์ของตัวเสาเข็ม ในแบบรายการจึงต้องกำหนดให้คอนกรีตงานเสาเข้มเจาะมีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าคอนกรีตโครงสร้างทั่วไป คือคอนกรีตต้องมีคุณสมบัติยึดเกาะตัวกันดี (Cohesive Mixed) ที่สามารถอัดตัวแน่นได้ด้วยน้ำหนักตัวเองคอนกรีตเสาเข็มเจาะชนิดเทใต้น้ำควรมีค่า Compaction Ratio ประมาณ 0.95 – 0.96 คอนกรีตเสาเข็มเจาะควรมีค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำ (k) ไม่เกิน 10 ยกกำลัง 10 เมตรต่อวินาที คอนกรีตต้องมีความต้านทานต่อการแยกตัว (Segregation) และการเยิ้ม (Bleeding) ทั้งในขณะเทและภายหลังการเท คอนกรีตเสาเข็มเจาะที่ก่อสร้างในชั้นที่มีน้ำขังหรือมีการเคลื่อนไหลขึ้นลง ของน้ำได้หรือมีสารเคมีปนเปื้อนผู้ออกแบบ จะต้องออกแบบและผู้ผลิตต้องผสมให้คอนกรีตที่มีปริมาณปูนซีเมนต์สูงกว่าปกติ
การออกแบบใช้เสาเข็มเจาะในพื้นที่ที่มีชั้นดินฝุ่นแดงชนิดไม่คงรูป (Collapsible Loess) อยู่ด้วยคอนกรีตที่ใช้ควรมีปริมาณซีเมนต์ที่สูงกว่า 400 – 500 กก / ม3 และอัตราส่วนต่อซีเมนต์ไม่เกิน 0.45
ผู้ผลิตคอนกรีตต้องควบคุมการผลิตไม่ให้คุณสมบัติคอนกรีตเกิดมีการผันแปรในทุกขั้นตอน ของการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องควบคุมส่วนผสมไม่ให้เกิดการเยิ้มของน้ำเกิดขึ้น เพราะการเยิ้มของน้ำในคอนกรีตเป็นปัญหาหลักที่ทำให้คอนกรีตหัวเสาเข็มเจาะเกิดความเสียหาย ด้วยการทำงานที่ระเอียดและหลายขั้นตอนจึงทำให้เสาเข็มแบบเปียกราคาสูง เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดให้ราคาของเสาเข็มเจาะระบบเปียก แต่ละโครงการราคาแตกต่างกันออกไป มีหลายองค์ประกอบในการทำราคาเสาเข็มเจาะระบบเปียก เช่น ความยากง่ายในการทำงาน จำนวนเสาเข็มเจาะ ความสะดวกในหน้างาน นอกจากนี้แล้วสิ่งที่ทำให้ราคาของเสาเข็มเจาะแบบเปียกยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น คือสเป็คที่เจ้าของโครงการตั้งเอาไว้ เช่นเหล็กคอนกรีตที่ระบบแบรนด์ โดยเฉพาะการเพิ่มขนาดของเหล็กและคอนกรีต รวมทั้งขนาดของเสาที่สั่งทำพิเศษให้มีขนาดใหญ่ขึ้น การเจาะเสาเข็มให้ออกมาสมบูรณ์นั้นต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ของทีมงานเป็นอันดับแรกหากขาดตกบกพร่องขั้นตอนใดไปหรือประมาทอาจเกิดผลเสียร้ายแรงตามมา
Leave a Reply